หากทอดทิ้งไอเดียเล็กๆ อาจพลาดความสำเร็จที่ยิ่งใหญ่ แต่สถานการณ์ในตลาดที่เปลี่ยนแปลงไปรวดเร็ว อัตราการย้ายงานที่เพิ่มขึ้น และโครงสร้างองค์กรขนาดใหญ่ บางครั้ง ก็อาจทำให้ไอเดียดีๆ ถูกทอดทิ้งได้ องค์กรจึงจำเป็นต้องปรับตัว เพื่อให้รองรับการสร้างสรรค์นวัตกรรมอย่างรวดเร็ว ด้วยรูปแบบการทำงานแบบ Agile และแบบเครือข่าย (Network) กับโครงสร้างองค์กรแบบแบนราบ (Flat) หรือแบบลำดับขั้นน้อย (Minimal Hierarchy) พร้อมนำเทคโนโลยี Digital มาเป็นส่วนหนึ่งในการทำงาน ซึ่งองค์กรใหญ่หลายแห่งทั่วโลก ให้ความสำคัญเรื่องนี้ ด้วยการจัดทำเป็นกลยุทธ์ Digital Workplace ขึ้นมา
จากโครงสร้างองค์กรแบบลำดับขั้น ที่อาจปิดกั้นไอเดีย
1. Collaboration: พนักงานทำงานร่วมกันได้ง่าย รวดเร็ว และมีประสิทธิภาพมากขึ้น เพราะมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกัน เรียนรู้และเข้าใจกันมากขึ้น ด้วยเทคโนโลยีดิจิตอลที่ช่วยให้คุณ สามารถที่จะสื่อสารหรือเลือกที่จะทำงาน ที่ไหนก็ได้เมื่อคุณสะดวก ผ่าน Seamless connection
2. Innovation: ส่งเสริมและสนับสนุนการเรียนรู้ และการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ พัฒนาไปสู่การสร้างนวัตกรรมให้แก่องค์กร
3. Well-being: คนในองค์กรมีคุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น เพราะสามารถบริหารจัดการงานและเวลาได้ยืดหยุ่นและมีประสิทธิภาพมากขึ้น มีเวลาดูแลตนเอง ดูแลครอบครัว เรียนรู้และพัฒนาตนเอง
4. Productivity: เมื่อคนในองค์กรมีประสิทธิภาพในการทำงานที่ดีขึ้น แก้ไขปัญหาต่างๆ ได้อย่างรวดเร็ว และมีการพัฒนานวัตกรรมใหม่ๆ ส่งผลให้ผลิตภาพจากการทำงานเพิ่มขึ้นด้วย
5. Customer Experience: จากประโยชน์ทั้ง 4 ข้อข้างต้น จะส่งผลให้ส่งมอบประสบการณ์แก่ลูกค้าได้ดียิ่งขึ้นด้วย
5 ข้อดี เมื่อมี Digital Workplace
ขึ้นชื่อว่า Digital แล้ว องค์ประกอบสำคัญของ Digital Workplace นั้น คือ เทคโนโลยี (Technology) แต่ Digital Workplace จะสำเร็จไม่ได้ หากขาดองค์ประกอบสำคัญอื่นๆ อีก 5 ด้าน ได้แก่ คน (People) สถานที่ (Place) กระบวนการ (Process) โครงสร้างองค์กร (Organization Structure) และวัฒนธรรมองค์กร (Corporate Culture) องค์ประกอบทั้ง 6 ด้านล้วนมีความสัมพันธ์ ในการสร้าง Digital Workplace ให้ประสบความสำเร็จ
6 องค์ประกอบสำคัญ สร้าง Digital Workplace ให้สำเร็จ