มุ่งสู่องค์กร ‘Net Zero’ ด้วย ‘GAIA ZERO’ แพลตฟอร์มจัดทำบัญชีคาร์บอน สอดคล้องแนวคิด ESG
องค์การอุตุนิยมวิทยาโลก (WMO) เปิดเผยข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม ระหว่างการประชุมสมัชชาประเทศภาคีอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (United Nations Framework Convention on Climate Change) ครั้งที่ 28 หรือ COP28 ที่จัดขึ้น ณ เมืองดูไบ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ เมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน 2566
“สภาพภูมิอากาศโลกก้าวเข้าสู่จุดที่น่าเป็นห่วงอย่างมากแล้ว”
เนื่องจาก 2566 เป็นปีที่ WMO ระบุว่า อุณหภูมิเฉลี่ยของโลกเพิ่มมากถึง 1.5 องศาเซลเซียส ซึ่งทำลายสถิติอุณหภูมิเฉลี่ยสูงสุดจากเดิมของปี 2016 (1 องศาเซลเซียส) และปี 2020 (1.2 องศาเซลเซียส) ด้วยการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับสภาพอากาศนี้ ส่งผลให้ภาวะโลกร้อนแปลเปลี่ยนเป็นภาวะโลกเดือด
นักวิทยาศาสตร์และผู้เชี่ยวชาญด้านสิ่งแวดล้อม ต่างกล่าวถึงปัญหาการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่มากจนเกินไป เป็นสาเหตุที่ทำให้โลกมีอุณหภูมิสูงขึ้น ซึ่งปัญหานี้กระทบกับทุกภาคส่วนทั่วโลก
สภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงไปนั้น ส่งผลกระทบต่อมิติต่างๆ ทุกด้าน ไม่ว่าจะเป็น สังคม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อม หากจะกล่าวถึงปัจจัยก็หนีไม่พ้นการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่มากจนเกินไป ไม่ว่าจะเป็นจากภาคครัวเรือน ไปจนถึงมุมที่ใหญ่ขึ้นอย่างภาคธุรกิจ
ในประเทศไทยเอง ก็ได้รับผลกระทบจากปัญหาด้านก๊าซเรือนกระจก ส่งผลให้อากาศบ้านเราเปลี่ยนแปลงไป มีอุณหภูมิสูงมากยิ่งขึ้น ก่อให้เกิดการใช้พลังงานและปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากครัวเรือนมากขึ้นตามไปอีก ในความเป็นจริงแล้วทุกๆ ภาคส่วนก็มีส่วนรับผิดชอบกับการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่มากเกินไปด้วยกันทั้งสิ้น
ด้วยปัญหาที่เรียกได้ว่าเชื่อมโยงกันเป็นเครือข่ายเดียวกัน ทำให้รัฐบาลไทยให้ความสำคัญกับการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก เกิดเป็นพันธกิจร่วมกันระหว่างองค์กรในประเทศไทย ที่ต้องใส่ใจความยั่งยืน ESG และ Net Zero Carbon Emission
แต่เดิมรัฐบาลไทยภายใต้การนำของพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ได้ให้คำมั่นสัญญาต่อกรอบการทำงานที่กำหนดระดับชาติ (NDC) ภายใต้ข้อตกลงปารีส NDC ตั้งเป้าหมายให้ประเทศไทยภายในปี 2065 การปล่อยก๊าซเรือนกระจกต้องเป็นศูนย์ ซึ่งมีหลากหลายพันธกิจ ย่อยลงไปตามวิสัยทัศน์ของแต่ละองค์กร แต่ส่วนมากภายในปี 2030 จะต้องลดการปล่อยก็าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้กว่าครึ่ง และในปี 2050 จะต้องนำพาประเทศไทยเข้าสู่สังคม Net Zero ให้ได้
เพื่อที่จะนำพาองค์กรไปถึงจุดนั้น จำเป็นจะต้องประยุกต์ใช้องค์ความรู้ทางด้านเทคโนโลยีที่พัฒนาอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ ในการเป็นเครื่องมือ หรือ ตัวช่วยสำหรับการเดินทางที่ยิ่งใหญ่นี้ โดยสามารถใช้เทคโนโลยีในการเริ่มต้นจากเป้าหมายเล็กๆ อย่างการจัดทำบัญชี เพื่อเก็บข้อมูลการสร้างและการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ จากการดำเนินงานและธุรกิจขององค์กร
ซึ่ง PTT Digital ได้พัฒนา GAIA ZERO ‘แพลตฟอร์มจัดทำบัญชีคาร์บอน’ ที่ตอบโจทย์ความต้องการในการจัดทำบัญชีคาร์บอนสำหรับองค์กร
รู้จัก ‘GAIA ZERO’ แพลตฟอร์มจัดทำบัญชีคาร์บอน สำหรับองค์กรที่มีเป้าหมายสู่ Net Zero Emissions’
‘GAIA ZERO’ แพลตฟอร์มจัดทำบัญชีคาร์บอน มีหน้าที่จัดการการวัด บันทึก และจัดทำรายงานปริมาณการปล่อยก๊าซขององค์กร จากการดำเนินกิจกรรมต่างๆ โดยครอบคลุมการปล่อยก๊าซเรือนกระจกภายในองค์กร การปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการใช้ไฟฟ้าและความร้อนภายนอกองค์กร และการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากกิจกรรมต่างๆ ขององค์กร ซึ่ง GAIA ZERO จะช่วยให้องค์กรของคุณก้าวเข้าสู่ NET Zero ได้อย่างแท้จริงตามพันธกิจที่วางไว้ สอดคล้องกับแนวคิด ESG ในด้านการพัฒนาสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน
สำหรับขั้นตอนการทำงานของ GAIA ZERO มีทั้งหมด 4 ขั้นตอนด้วยกัน
ขั้นตอนที่ 1 Measure : นำเข้าข้อมูลกิจกรรมขององค์กรที่เกี่ยวข้องกับการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทั้ง 3 ขอบเขต
1.1 ขอบเขตที่ 1 การปล่อยก๊าซเรือนกระจกภายในองค์กร เช่น กิจกรรมการเผาไหม้จากการดำเนินธุรกิจขององค์กร การรั่วไหลสารเคมีต่าง ๆ
1.2 ขอบเขตที่ 2 การปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการใช้ไฟฟ้าและความร้อนภายนอกองค์กร เช่น การซื้อไฟฟ้า ไอน้ำ ความร้อนหรือระบบทำความเย็นต่าง ๆ
1.3 ขอบเขตที่ 3 การปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากกิจกรรมต่าง ๆ ขององค์กร เช่น ปริมาณการใช้กระดาษ ขยะมูลฝอย การขนส่งวัตถุดิบ การเดินทางปฏิบัติงานของพนักงาน การจ้างเหมาบริการต่าง ๆ รวมไปถึงกิจกรรมอื่น ๆ ที่นอกเหนือขอบเขตที่ 1 และ 2
ผ่านการเชื่อมต่อที่รองรองรับรูปแบบแพลตฟอร์มที่หลากหลาย เช่น PTT Digital Automate System (GAIA ZERO, Jupiter-ระบบบริหารจัดการสถานีบริการจุดชาร์จไฟฟ้า, KRONOS-ระบบบริหารจัดการผู้เข้า-ออกอาคาร, HERMES-ระบบติดตามการขนส่ง), Operation Platform, ระบบ ERP หรือ Excel File เป็นต้น เพื่อคำนวณค่า Carbon Emission โดยอัตโนมัติ และแสดงข้อมูลในรูปแบบ Dashboard ซึ่งง่ายต่อการตรวจสอบ
ขั้นตอนที่ 2 Reduce & Offset : กำหนดเป้าหมายและวิเคราะห์ประสิทธิภาพในการลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกภายในองค์กร รวมไปถึงวางแผนการซื้อคาร์บอนเครดิตเพื่อชดเชยการปล่อยก๊าซเรือนกระจกขององค์กร ในกรณีที่ไม่สามารถชดเชยได้หมด โดยระบบจะนำข้อมูลซื้อขายเข้ามา Stamp ในระบบและทำการหักล้างก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่ปล่อยออกไป
ขั้นตอนที่ 3 Report : จัดทำรายงานปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกขององค์กร รายละเอียดครอบคลุมตั้งแต่กระบวนการวัด ลด และชดเชยการปล่อยก๊าซเรือนกระจกขององค์กรเป็นไปตามมาตรฐานขององค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) หรือ อบก. และมาตรฐานสากล ซึ่งง่ายต่อองค์กรเมื่อต้องนำรายงานฉบับนี้ไปต่อยอดพัฒนาความยั่งยืน
ขั้นตอนที่ 4 Certify : สามารถยื่นเสนอการรับรอง Certify โดยนำส่งรายงานปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกขององค์กรต่อองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์กรมหาชน)
จุดเด่นของ GAIA ZERO ช่วยลดการปล่อยคาร์บอนด้วยดิจิทัลแพลตฟอร์ม
GAIA ZERO ยกระดับองค์กรสู่เป้าหมาย Net Zero อย่างยั่งยืน
เนื่องจาก GAIA ZERO เป็นผลิตภัณฑ์จาก PTT Digital จึงเป็นแพลตฟอร์มที่มีความน่าเชื่อถือสำหรับองค์กร ด้วยความสามารถที่เกิดขึ้นมาเพื่อเป็นแพลตฟอร์มผู้จัดการทำบัญชีคาร์บอน ทำให้สามารถจัดการคาร์บอนภายในองค์กรได้อย่างครอบคลุม ไม่ว่าจะเป็นการจดบันทึก การวัด และการจัดทำรายงานที่พร้อมสำหรับการพัฒนาต่อยอดในอนาคต โดยเป็นรายงานที่มีความโปร่งใส เป็นไปตามมาตรฐานทั้งไทยและสากล ซึ่งท้ายที่สุดแล้วพันธกิจที่ว่าด้วยความต้องการนำพาองค์กรไปสู่ Net Zero จะสามารถเกิดขึ้นได้ ด้วยการวางแผนการลดปริมาณการปล่อยก๊าซได้อย่างมีประสิทธิภาพ เป็นรูปธรรม อันเนื่องมาจากการใช้บริการ GAIA ZERO นั่นเอง
สรุป
ปัญหาด้านสภาพอากาศของโลกเรายังคงเป็นปัญหาที่เรื้อรัง ได้รับการสะสมมานานหลายปี หากอยากจะแก้ไขจำเป็นที่จะต้องใช้เวลาในการฟื้นฟู และมีแผนการดำเนินการเป็นรูปธรรม ดังนั้น ทุกคนต้องร่วมมือกันในการให้ความช่วยเหลือ ตระหนักรู้ และลงมือทำ ดังนั้น เริ่มต้นได้ตั้งแต่วันนี้ ด้วยตัวคุณเอง หรือจะให้ GAIA ZERO ช่วยก็ได้เช่นกัน
บรรณานุกรม
Mr.Vop. (2566). ปี 2023 อุณหภูมิโลกเพิ่มถึงจุดที่ไม่เคยเป็นมาก่อน ข่าวร้ายคือปี 2024 ภาวะโลกร้อนมีแนวโน้มเลวร้ายลงอีก. สืบค้นเมื่อวันที่ 25 มีนาคม 2567. ที่มา : https://thestandard.co/global-temp-reach-unprecedented-levels-in-2023/
Thai Publica. (2566). COP28 โอกาสชี้ขาดในการเปลี่ยนแผนสภาพภูมิอากาศ พลิกกระแสรับมือวิกฤติ Climate Change. สืบค้นเมื่อวันที่ 25 มีนาคม 2567. ที่มา : https://thaipublica.org/2023/11/un-whats-cop28-and-why-is-it-important/
ปัทมาสน์ ชนะรัชชรักษ์. (2566). เลขา UN เตือน โลกอาจต้องใช้เวลาอีก 300 ปี กว่าจะบรรลุเป้าหมายความเท่าเทียมทางเพศ. สืบค้นเมื่อวันที่ 25 มีนาคม 2567. ที่มา : https://thestandard.co/antonio-guterres-gender-equality/
กัญณัฏฐ์ บุตรดี. (2566). ส่องปริมาณการปล่อยคาร์บอนในไทยรอบ 1 ปี อุตสาหกรรมใดทำลายโลกมากกว่ากัน. สืบค้นเมื่อวันที่ 25 มีนาคม 2567. ที่มา : https://www.bangkokbiznews.com/environment/1060732
กรุงเทพธุรกิจ. (2566). เศรษฐกิจไทยเสียหายแค่ไหน จากพิษภัย Climate Change. สืบค้นเมื่อวันที่ 25 มีนาคม 2567. ที่มา : https://www.bangkokbiznews.com/environment/1053025