จบไปแล้วกับงานสัมมนาด้านความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ PTT Digital Cyber Security Day 2020 "Cyber security Your Digital Journey Safeguard" ติดอาวุธ เสริมเกราะป้องกันทางไซเบอร์ในชีวิตยุคดิจิทัล วันนี้เรารวบรวมคำถามที่น่าสนใจจากในงาน เพื่อเป็นประโยชน์ด้านความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ ให้กับทั้งองค์กรและชีวิตประจำวัน
มีวิธีการอย่างไรบ้างในการป้องกันภัยคุกคามทางไซเบอร์ ที่มีสาเหตุเกิดมาจาก บุคคล
ต้องสร้าง Security Awareness ให้กับผู้ใช้งานเป็นระยะๆ พร้อมหมั่นตรวจสอบหรือวัดผลว่าผู้ใช้งานมีความตระหนักรู้เกี่ยวกับภัยคุกคามทางไซเบอร์เพิ่มขึ้นหรือไม่
การนำข้อมูลแบบ Sensitive ไปวางที่ OneDrive (ของบริษัท) ถือว่ามีความเสี่ยงหรือไม่ และพนักงานควรระวังอย่างไรบ้าง
การนำข้อมูล Sensitive ไปวางที่ OneDrive (ของบริษัท) ไม่มีความเสี่ยงแต่อย่างไรก็ตามพนักงานเองก็ต้องระมัดระวังการใช้งาน OneDrive โดยเพิ่มการป้องกันการเข้าถึง Sensitive Data บน OneDrive ได้ดังนี้
กรณีตรวจพบอีเมลผิดปกติ ระบบจะออโต้เมลดังกล่าวไปอยู่ใน Junk E-mail หรือไม่
ระบบสามารถย้ายไปจับเก็บที่ Junk E-mail อัตโนมัติได้ แต่ไม่ครบ 100 เปอร์เซน เนื่องจากระบบอีเมลส่วนใหญ่จะมีฟังก์ชั่นจัดเก็บอีเมลที่มีความเสี่ยงด้านความปลอดภัยหรือก่อกวนที่ใช้เทคนิคโจมตีหรือหลอกลวงไม่ซับซ้อนไปอยู่ใน Junk E-mail อัตโนมัติ เว้นแต่อีเมลที่มีความเสี่ยงหรืออันตรายที่ใช้เทคนิคหลบหลีกการตรวจจับแบบพื้นฐาน ก็ยังคงสามารถเข้าไปอยู่ INBOX ของผู้ใช้งานได้ ฉะนั้นจึงจำเป็นต้องมีระบบป้องกันเสริมที่เรียกว่า Business Email Compromised Protection หรือ Email Security Gateway เพื่อป้องกันตั้งแต่ด่านแรกก่อนที่จะเข้ามาที่ระบบอีเมล
การใช้ระบบอัตโนมัติเข้ามาตรวจจับและตอบสนองต่อภัยคุกคามทางไซเบอร์ เป็นผลให้ระยะเวลาในการตรวจจับความผิดปกติ หรือ Mean Time to Detect น้อยลง รวมถึง ระยะเวลาในการตอบสนองต่อภัยคุกคาม หรือ Meat Time to Response น้อยลงอีกด้วย โดยเราจะมีวิธีการคำนวน Mean Time to Detect และ Mean Time to Response ได้อย่างไร
หากบริษัทบังคับให้โหลด application เพื่อยืนยันตัวตนบนโน๊ตบุคบริษัท ผ่านโทรศัพท์มือถือส่วนตัว ซึ่งในการ Activate app จะต้องกดยอมรับเงื่อนไขในการเข้าถึงโทรศัพท์ส่วนตัว
Application ที่บังคับให้ติดตั้งโดยบริษัทถือว่าเป็น Inhouse Application ซึ่งในการ Develop Application ขึ้นมาถือว่าที่มีจุดมุ่งหมายที่ดีเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานให้กับตัวพนักงานและองค์กร ซึ่งมีการตรวจสอบเรื่องความปลอดภัยของตัว Application อยู่แล้วดังนั้นจึงสามารถกดยอมรับเงื่อนไขในการเข้าถึงโทรศัพท์ส่วนตัวได้
จากกรณีดังกล่าว ถือเป็นการถูกรุกล้ำ personal data หรือไม่ และถ้าหากกรณีที่เกิดข้อมูลรั่วไหล พรบ. จะคุ้มครองไม่
ขึ้นอยู่กับนโยบายขององค์กรว่ามีความชัดเจนในเรื่องของการนำ Bring Your Own Device (BYOD) มาใช้ในองค์กรแล้วหรือไม่ ว่าถ้าหากพนักงานจะนำอุปกรณ์มาใช้งานที่เกี่ยวข้องกับบริษัทจะต้องทำการ Register อุปกรณ์เข้ามายังระบบของบริษัทเพื่อที่จะทำการ Check Compliance ของอุปกรณ์ต่างๆที่จะเข้ามาใช้งาน Resource ของบริษัท และทางบริษัทเองต้องมีกระบวนการในการเก็บข้อมูลของพนักงานอย่างระมัดระวังและเป็นกระบวนการเพื่อป้องกันการรั่วไหลของข้อมูล
หากท่านมีคำถามหรือข้อสงสัยเกี่ยวกับ Cyber Security หรือต้องการสอบถามเพิ่มเติมเกี่ยวกับบริการอื่นๆ ของทาง PTT Digital Solution สามารถติดต่อได้ที่ Marketing@pttdigital.com